โรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ Alzheimer Dementia
ผู้สูงอายุมักมีความจำบกพร่อง ขี้ลืม หรือหลงลืมเล็ๆ น้อยๆ อาการหลงลืมตามวัยนี้จะสามารถช่วยให้น้อยลงได้โดยถ้ามีสมาธิดีขึ้น ตั้งใจจดจำสิ่งของ หรือเหตุการณ์อย่าจริงจัง จดบันทึกช่วยเตือนตัวเอง ทำเช่นนี้จะช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันดีของผู้สูงอายุนั้นดีขึ้น
ภาวะสมองเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งที่รักษาได้และป้องกันได้ก็มีจะต้องตรวจหาว่าอาการเหล่านี้เกิดจากสาเหตุใด เช่น เกิดยากผลข่้างเคียงของยาที่ใช้อยู่ เกิดจากภาวะซึมเศร้า เกิดจากการดื่มสุราเรื้อรัง ได้รับสารโลหะบางชนิด เป็นต้น การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการแรกๆเป็นหัวใจสำคัญอันหนึ่งของการรักษาให้ได้ผลดีที่สุด
อาากรสมองเสื่อมเกิดจากความบกพร่องในการทำงานของสมองใหญ่โดยรวมมีผลให้เกิดความบกพร่องใน
1. การประกอบกิจวัตรประจำวัน
2. การเปลี่ยนแปลงของบุคลิกและพฤติกรรม
ซึ่งอาการผิดปกตินี้ควรเกิดขึ้นอย่างน้อย 6 เดือน แพทย์จึงวินิจฉัยว่าเกิดภาวะสมองเสื่อม
อาการของภาวะสมองเสื่อมประกอบด้วย
➤ การทำงานของสมองใหญ่โดยรวมเสียไป
➤ บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
➤ จำคำพูดที่เพิ่งสนมนากันไม่ได้ ถามซ้ำๆ พูดวกวนเรื่องเก่า วางสิ่งของไม่เป็นที่ แล้วลืมว่าวางของไว้ที่ใด จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ทานข้าวแล้วบอกไม่ได้ทาน หาสิ่งของทานอยู่เรื่อย
➤ ทำกิจกรรมที่ซับซ้อนไม่ได้
➤ เคยจ่ายกับข้าวได้ ก็ซื้อของมาขาดๆ เกินๆ หรือ ปรุงอาหารใช้ส่วนผสมแปลกๆ ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้ ทั้งที่เคยใช้มาก่อน ใส่เสื้อผ้าไม่เป็น ใช้ช้อนส้อมไม่ได้
บกพร่องในการคิดตัดสินใจแก้ปัญหา
➤ ยืนดูน้ำล้นออกจากอ่างเฉยๆ เพราะไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร ไม่กล้าตัดสินใจ ตัดสินใจผิดพลาดแม้เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่สามารถทำอะไรหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน
➤ หลงทาง
➤ เดินออกจากบ้านแล้วหาทางกลับบ้านไม่ถูก หรือไปที่คุ้นเคยแต่จำทางไม่ได้
บกพร่องทางการใช้ภาษา
➤ พูดตะกุกตะกัก พูดเพี้ยน นึกชื่อสิ่งของไม่ได้ เรียกเสื้อเป็นกางเกง เรียกตู้เป็นโต๊ะ ถามซ้ำๆประโยคเดิมๆ บ่อยๆ พูดไม่เป็นคำ ไม่เป็นประโยคต่อเนื่องกัน พูดน้อยลง หรือถึงขั้นไม่พูดเลย
➤ เคยทำสิ่งใดแล้วแล้วตอนนี้ทำไม่ได้
➤ ไม่สามารถหาเปลี่ยนช่องโทรทัศน์ได้ ทั้งที่เคยทำได้ จะพูดให้คนอื่นมาทำแทนให้
➤ ประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองบกพร่อง
➤ ไม่อาบน้ำแต่งตัว
➤ กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ ปัสสาวะเรี่ยราด หรือ ปัสสาวะในที่ๆไม่ควร เช่น เตียงนอน หลังเก้าอี้
➤ กินมูมมาม หกเรี่ยราด
➤ เมื่อลุกนั่งหรือเดินแล้วล้ม ขึ้นลงบันไดเองไม่ได้ มีท่าเดินเปลี่ยนไป
➤ แต่งตัวไม่เหมาะสม ใส่รองเท้าขึ้นที่นอน ใส่ชุดนอนออกไปที่สาธารณะ
พฤติกรรมแปลกหรือบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
➤ เฉยเมย เฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น
➤ โมโหฉุนเฉียวง่ายเมื่อใครทำอะไรให้ไม่ถูกใจ
➤ หลีกเลี่ยงการเจอผู้คน หรือออกไปพบปะผู้คนทั้งที่เคยไปมาหาสู่กัน
➤ เดินวนไปวนมาอย่างไร้จุดหมาย
➤ ทำอะไรซ้ำๆ เช่น รื้อหาของทั้งวัน เปิดตู้เปิดลิ้นชัก
➤ อาจมีอาการคล้ายโรคจิตเภท เช่น เห็นภาพหลอน หรือมีคามเชื่อหลงผิด คิดไปเอง
➤ นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกแล้วเดินไปมาทั้งคืน หรือ นอนทั้งวันทั้งคืน

โรคสมองเสื่อม (dementia) เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดมาจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง มีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อม ๆ กัน แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวร ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำและการใช้ความคิดด้านต่าง ๆ ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ พฤติกรรม และส่งผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงการดำรงชีวิตประจำวัน
สาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ เรื่องของอายุและพันธุกรรม จำนวนผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี ๆ โดยผู้ป่วยในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีอัตราการป่วยสูงถึงร้อยละ 5 – 8 และยิ่งทวีสูงขึ้น เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ในผู้ที่อายุ 90 ปีขึ้นไป พบอัตราการเกิดโรคสูงถึงร้อยละ 50 “ภาวะสมองเสื่อมแบ่งได้เป็นสองประเภท ได้แก่ โรคสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาดได้ และโรคสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด ซึ่งมีสาเหตุแตกต่างกันออกไป” “ภาวะสมองเสื่อมชนิดที่รักษาได้นั้น ส่วนมากมักมาจากโรคทางกายซึ่งหลายครั้งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่น กลุ่มที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน (Vascular dementia)ซึ่งมีสาเหตุจากความดันไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร และดูแลร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย อาการคล้ายโรคสมองเสื่อมก็จะดีขึ้นหรือหายไป”
เมื่อมีอาการน่าสงสัย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการทดสอบภาวะของความจำ หากผลตรวจน่าสงสัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจร่างกายและเลือดทั่วไปเพื่อคัดแยกโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกสมองที่มีผลต่อความจำหรือทำให้สมองเสื่อม เมื่อแยกโรคทั่วไปออกแล้ว แพทย์ก็จะทำการตรวจปัญหาที่เกิดขึ้นในสมอง ซึ่งจะต้องแยกโรคติดเชื้อเนื่องอก โพรงน้ำไขสันหลังขยายตัวเส้นเลือดตีบออกไปจากภาวะสมองเสื่อมหรือฝ่อ การถ่ายภาพสมองโดยเครื่อง CT MRI หรือ PET Scan ก็จะทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง
โดยปรกติแพทย์ทั่วไปหรือประสาทแพทย์ มักจะเป็นผู้ให้การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมโดยอาศัยข้อมูลจากประวัติ, ระยะเวลาเป็นโรค, อาการ, อาการแสดง, ประวัติครอบครัว. การตรวจร่างกายทางระบบประสาทโดยละเอียด และการสืบค้นหาสาเหตุของโรคดังกล่าว ซึ่งอาจประกอบด้วย การเจาะเลือด, การเอกเรย์, การตรวจคลื่นสมอง, การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง, การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง, การตรวจการไหลเวียนของเลือดสู่สมอง และการตรวจชิ้นเนื้อสมองโดยการผ่าตัดพิสูจน์ ขบวนดังกล่าวโดยมากมักจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยมารับการตรวจในโรงพยาบาล และเฝ้าสังเกตอาการพร้อมทั้งเริ่มให้การรักษาในระยะแรกไปด้วยกัน
**รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
**ระวังการใช้สารที่อาจเกิดอันตรายต่อสมอง เช่น การดื่มสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงการรับประทานยาโดยไม่จำเป็น
** ระวังปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น สูบบุหรี่ หรืออยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่
** การฝึกสมอง พยายามทำกิจกรรมที่ได้ใช้สมองอย่างสม่ำเสมอ เช่น อ่านหนังสือ วาดรูป คิดเลข เล่นเกมตอบปัญหา การดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ที่ไม่ซ้ำซากจำเจ เช่น ลองเปลี่ยนเส้นทางเดินทางที่เคยใช้ประจำ ลองใช้ประสาทสัมผัสอื่นที่ไม่ค่อยได้ใช้ เช่น ฝึกเขียนหนังสือ หรือแปรงฟันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ถือเป็นการออกกำลังสมองอย่างหนึ่ง
**ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
**ตรวจสุขภาพประจำปี
**ระมัดระวังอุบัติเหตุต่าง ๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ศีรษะ
**หลีกเลี่ยงความเครียด ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเดินทางไปพักผ่อน การฝึกสมาธิ เป็นต้น
1. รักษาโรคต้นเหตุของภาวะสมองเสื่อม
2. รักษาตามอาการแบบประคับประคอง
3. การให้ยาบำบัดรักษา
การรักษาโรคต้นเหตุของภาวะสมองเสื่อม เป็นหัวใจที่สำคัญยิ่งและต้องรีบกระทำโดยเร็วและทันท่วงทีแล้วแต่ชนิดของสาเหตุต่างๆกันจึงจะได้ผลดีดังกล่าวแล้ว
ปัญหาสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะสำหรับตัวผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว โรคนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมอย่างที่เรานึกไม่ถึงเลยทีเดียว เพื่อเป็นแนวทาง และทำความเข้าใจกับโรคนี้
คำแนะนำสำหรับการให้การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมไว้ดังนี้
**ทำความเข้าใจ ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องความจำ และการใช้ความคิดด้านต่าง ๆ ตลอดจนการสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเองของผู้ป่วย จนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรม ไปจนถึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และที่สำคัญต้องเข้าใจว่าอาการเหล่านั้นเกิดขึ้นสืบเนื่องจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นไม่ใช่แกล้งทำ
**ให้ความรัก การดูแลด้วยความรักและความเข้าใจ เมื่อผู้ดูแลตระหนักว่ายังมีความรักให้กับผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลก็จะสรรหาวิธีการรักษาการดูแลด้านจิตใจ และอื่น ๆ ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือด้านจิตใจของผู้ป่วยได้ โดยการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย การอาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยเมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลงกัน
**รู้ขีดจำกัดของตนเอง นอกจากการดูแลผู้ป่วยแล้ว ตัวผู้ดูแลเองก็ควรจะดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย รู้ขีดความอดทน สภาพทางอารมณ์ของตัวเอง เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ตลอดเวลาอาจก่อให้เกิดความเครียดหรือปัญหาด้านอารมณ์ บางครั้งผู้ดูแลอาจรู้สึกผิด ไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนเองทำว่าถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นนอกจากผู้ดูแลจะมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แล้ว ต้องดูแลสุขภาพจิตของตนเองด้วย หากรู้สึกเหนื่อยก็ควรหยุดพักให้ผู้อื่นมาดูแลแทน เมื่อสภาพร่างกายและจิตใจพร้อมแล้วก็ค่อยกลับมาทำหน้าที่ผู้ดูแลใหม่