212/9 Zentara City ถนนชาตะผดุง ในเมือง เมือง ขอนแก่น  Mon-Fri: 17:30-19:30 / Sat:9.00-13.00   063-8963595, 061-6541962

สุขภาพจิต

  • Home
  • สุขภาพจิต

อย่าปล่อยให้ความทุกข์ทำลายสุขภาพจิตคุณ และคนที่คุณรัก กลับมามีความสุขอีกครั้ง เราช่วยคุณได้

โรคทางจิตเวช วิตกกังวล เครียด นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ไมเกรน สมองเสื่อม ติดบุหรี่ สุรา สารเสพติด ย้ำคิดย้ำทำ แพนิค อาการทางจิต โรคจิตเภท ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน

การมีสุขภาพจิตที่ดีถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และยั่งยืนสำหรับการใช้ชีวิต อย่างเป็นสุข ขอนแก่นการแพทย์คลินิกคืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการค้นหาและพัฒนาศักยภาพในตัวเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มาดูแลและรักษาสุขภาพจิตให้แข็งแรงสมบูรณ์ไปพร้อมกับเรา “การมีสุขภาพจิตดี ชีวีมีสุข”

คนสุขภาพจิตดีเป็นอย่างไร
หลาย ๆ ครั้งเวลาที่เราพูดถึงสุขภาพจิตเรามักรู้สึกเหมือนกับว่าเรารู้ว่าสุขภาพจิตดีเป็นอย่างไรหรือสุขภาพจิตไม่ดีเป็นอย่างไร แต่บางครั้งเมื่อเราต้องตอบคำถามว่าสุขภาพจิตที่ดีหรือคนปกติที่มีสุภาพจิตดี เป็นอย่างไร เรามักจะตอบไม่ถูก จริง ๆ แล้วคำถามนี้ก็เป็นสิ่งที่ตอบไม่ง่ายนักและก็มีคนช่วยคิดกันมาก่อนหน้านี้มากมาย โดยพอสรุปแนวความคิดได้ดังนี้

คนที่ปกติก็คือคนที่มีอะไร ๆ อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย มีความรูสึกนึกคิดและทำอะไรๆได้เหมือนคนทั่วๆไปในสังคมนั้น แนวคิดนี้ก็ง่ายดี แต่ในบางสังคมที่มีสุขภาพจิตไม่ดีหรือมีคนที่มีพฤติกรรมที่มีปัญหาอยู่มาก ๆ เช่น สังคมที่ชอบใช้ความรุนแรง สังคมที่ใช้การฆ่าตัวตายเป็นทางแก้ปัญหา หรือสังคมที่มีการดื่มเหล้ามาก ๆ เราจะถือว่านั่นเป็นสิ่งปกติเพราะคนส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้น

คนที่มีสุขภาพจิตดีคือคนที่ไม่ป่วย ไม่มีโรคทางจิตเวช แนวคิดแบบนี้ถือว่าคน ๆ นั้นไม่มีอาการหรือพฤติกรรมที่แสดงออกถึงโรคทางจิตเวช ก็ให้นับว่าเป็นคนปกติที่มีสุขภาพจิตดี แต่ความเป็นจริงสุขภาพจิตดีควรเป็นอะไรที่มากกว่าการไม่ป่วย คนสุขภาพจิตดีนั้นนอกจากจะไม่ป่วยแล้วต้องสามารถมีความรู้สึกเป็นสุข สามารถทำอะไร ๆได้ตามศักยภาพของตนทั้งทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ความรู้สึก คนที่หัวดี เรียนเก่ง ไม่ป่วย แต่อยู่กับใครหรือทำงานกับใครก็มีปัญหาไปหมดไม่ถือว่าเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี

สุขภาพจิตที่ดีและที่ไม่ดีเป็นสิ่งเดียวกันแตกต่างกันที่ปริมาณหรือความรุนแรงเท่านั้น ในคนปกติบางครั้งก็มีอาการของโรคทางจิตเวชได้ เช่น บางครั้งเราล๊อคประตูก่อนออกจากบ้านตามปกติแล้วแต่ในใจก็ยังเกิดความไม่แน่ใจจนอดไม่ได้ที่จะกลับมาตรวจดูใหม่ว่าล๊อคประตูแล้วแน่นะ ซึ่งเป็นอาการย้ำคิดย้ำทำ แต่ถ้าอาการนั้นเป็นไม่รุนแรงและเกิดไม่บ่อยจนเกิดปัญหาเราก็ยังถือว่าเป็น พฤติกรรมปกติอยู่

คนปกติที่มีสุขภาพจิตดีคือคนที่ปรับตัวได้ คนที่ปรับตัวได้ดีไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่สร้างสรรค์ มีประโยชน์ต่อสังคม หรือเป็นคนดี คนที่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ สามารถอยู่ได้ สามารถหาความสุขใส่ตัวและหลีกเยงปัญหาต่าง ๆ ได้ ถือว่าเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดีตามแนวคิดนี้ สังคมต้องการมากกว่าการมีคนที่ปรับตัวได้มาอยู่รวมๆกัน

คนที่มีสุขภาพจิตดีต้องมีความสามารถที่จะจัดการกับสิ่งแวดล้อมได้ แนวคิดนี้คิดว่าคนที่มีสุขภาพจิตดีควรจะมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม และสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ไม่ใช่เพียงแค่สามารถปรับตัวอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ได้ เช่น ถ้าเพื่อนในโรงเรียนชอบแกล้ง คนที่มีสุขภาพจิตดีตามแนวคิดที่ 4 ก็จะทนเอา คอยระวังอย่าให้เขาแกล้งได้ แต่คนที่มีสุขภาพจิตตามแนวคิด (ที่ 5) นี้ควรจะสามารถหาวิธีจัดการให้เขาเลิกแกล้งหรือไม่มาแกล้งได้

คนที่มีสุขภาพจิตดีคือคนที่มีจิตใจที่เข้มแข็ง (good ego strength) คนที่มีจิตใจที่เข็มแข็งจะสามารถทนความเครียดได้มากและจะสามารถจัดการกับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าคนที่มีจิตใจไม่เข้มแข็ง คนที่มีจิตใจไม่เข็มแข็งนั้นถึงแม้ว่าจะไม่ป่วย ถึงแม้ว่าจะยังปรับตัวได้อยู่ดี แต่ถ้ามีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางสุขภาพจิตมากกว่าคนที่มีจิตใจเข็มแข็ง

สรุป คนที่มีสุขภาพจิตดีคือคนที่ไม่มีโรคทางจิตเวช มักมีความรู้สึกเป็นสุข สามารถทำอะไร ๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพของตนเอง มีความสามารถที่จะจัดการกับสิ่งแวดล้อมและมีจิตใจที่เข็มแข็ง

ชีวิตของคนที่มีสุขภาพจิตดีไม่จำเป็นต้องประสบแต่ความสุขสมหวังไปเสียหมด เพราะชีวิตของเราคงจะยากที่จะราบรื่นไปเสียทุกอย่าง ในขณะที่ชีวิตมีปัญหาคนที่มีสุขภาพจิตดีก็เกิดความเครียดได้และอาจมีอาการบางอย่างของโรคทางจิตเวชได้ เช่น อาการย้ำคิดย้ำทำ อาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ในขณะที่ชีวิตมีปัญหาคนที่มีสุขภาพจิตดีจะหาทางจัดการกับปัญหาได้โดยใช้ทั้ง เหตุผลและความรู้สึก บางครั้งก็การแก้ปัญหาได้ บางครั้งก็การแก้ปัญหาไม่ได้ แต่ไม่ว่าผลที่ได้จะเป็นอย่างไรโดยรวมแล้วคนที่มีสุขภาพจิตดีจะมีความรู้สึกที่ดีและรู้สึกว่าเป็นสุขมากกว่าเป็นทุกข์

พญ.สิริกุล ใจเกษมวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

➤ โรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ Dementia Alzheimer
➤ เครียด Stress
➤ วิตกกังวล Anxiety disorder
➤ โรคปวดศีรษะ Headache
➤ นอนไม่หลับ Insomnia
➤ โรคซึมเศร้า Major depressive disorder
➤ โรคแพนิค Panic
➤ โรคติดสุรา
➤ โรคจิตเภท Schizophrenia
➤ โรคอารมณ์แปรปรวน ฺBipolar
➤ จิตบำบัด Psychotherapy

 

 

คำตอบเหล่านี้จะทำให้คุณมั่นใจ และปฏิบัติตัวได้อย่างปลอดภัย
”ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนไปพบจิตแพทย์”
1. เตรียมใจ หลายๆคนเกรงว่าการไปพบจิตแพทย์จะทำให้ภาพลักษณ์ตนเองดูไม่ดี กลัวที่ทำงานรู้ กลัวพบคนรู้จัก แต่ปัจจุบันภาพลักษณ์ของการมาพบจิตแพทย์ค่อยๆเปลี่ยนไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามประเทศตะวันตกซึ่งการไปพบจิตแพทย์เป็นเรื่องปกติ และทุกสถานพยาบาลจะต้องมีนโยบายรักษาความลับของผู้ไปขอรับการปรึกษาเสมอ จะไม่เปิดเผยข้อมูลของท่านหากท่านไม่ยินยอม
2. เตรียมตัว แต่งตัวสุภาพตามปกติ บางท่านอาจนำผ้าพันคอหรือเสื้อหนาวติดไปหากแอร์เย็น หรือนำพัดเล็กๆไปเผื่ออากาศร้อน
3. เตรียมของ
– เอกสารสำคัญ เช่นข้อมูลประวัติการรักษาที่เดิมถ้ามี บัตรประชาชน บัตรแสดงสิทธิ์การรักษากรณีท่านต้องการใช้สิทธิ์เบิกจ่ายของประกันสังคมหรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือใบส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัด มิเช่นนั้นท่านจะต้องชำระค่ารักษาเอง เพราะโรงพยาบาลรัฐที่มีจิตแพทย์มักเป็นโรงพยาบาลในระดับทุติยภูมิหรือตติยภูมิ ซึ่งตามหลักจะให้บริการเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาจากสถานพยาบาลในระดับปฐมภูมิ หากท่านไปรับบริการด้วยเองโดยไม่ผ่านต้นสังกัดมักต้องชำระค่าบริการด้วยตนเอง ยกเว้นกรณีฉุกเฉินหรือท่านที่ใช้สิทธิ์ข้าราชการอาจไปเบิกในภายหลังได้
– เตรียมยา ที่ท่านรับประทานประจำทั้งยาทางกายหรือยาทางจิตเวชเดิม เพราะกายและใจมีความเกี่ยวข้องกัน แพทย์จะได้มีข้อมูลในการวางแผนช่วยเหลือท่านได้อย่างรอบด้านและต่อเนื่อง
– น้ำดื่ม ขนมนมเนย หนังสือ โทรศัพท์ เพื่อสันทนาการและแก้หิวกระหายระหว่างรอ เพราะอาจมีผู้รอรับบริการเช่นเดียวกับท่านเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับจำนวนจิตแพทย์ที่ให้การดูแล
4. เตรียมญาติ หรือเพื่อน คนรู้จัก คนใกล้ชิดที่ท่านไว้ใจ ไปเป็นเพื่อนท่านหากท่านต้องการ และจะมีประโยชน์กับจิตแพทย์ผู้รักษาท่านมากหากสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวท่าน ที่ท่านอาจไม่เคยสังเกตมาก่อน เพื่อให้แพทย์มีข้อมูลใช้ดูแลท่านอย่างครบถ้วน และจะได้ช่วยรับฟังคำแนะนำจากแพทย์ว่าท่านควรปฏิบัติตัวอย่างไร และคนใกล้ชิดจะมีส่วนช่วยดูแลท่านอย่างไร

เครดิต http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=941