อย่าปล่อยให้ความทุกข์ทำลายสุขภาพจิตคุณ และคนที่คุณรัก กลับมามีความสุขอีกครั้ง เราช่วยคุณได้
โรคทางจิตเวช วิตกกังวล เครียด นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ไมเกรน สมองเสื่อม ติดบุหรี่ สุรา สารเสพติด ย้ำคิดย้ำทำ แพนิค อาการทางจิต โรคจิตเภท ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน
การมีสุขภาพจิตที่ดีถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และยั่งยืนสำหรับการใช้ชีวิต อย่างเป็นสุข ขอนแก่นการแพทย์คลินิกคืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการค้นหาและพัฒนาศักยภาพในตัวเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มาดูแลและรักษาสุขภาพจิตให้แข็งแรงสมบูรณ์ไปพร้อมกับเรา “การมีสุขภาพจิตดี ชีวีมีสุข”
คนสุขภาพจิตดีเป็นอย่างไร
หลาย ๆ ครั้งเวลาที่เราพูดถึงสุขภาพจิตเรามักรู้สึกเหมือนกับว่าเรารู้ว่าสุขภาพจิตดีเป็นอย่างไรหรือสุขภาพจิตไม่ดีเป็นอย่างไร แต่บางครั้งเมื่อเราต้องตอบคำถามว่าสุขภาพจิตที่ดีหรือคนปกติที่มีสุภาพจิตดี เป็นอย่างไร เรามักจะตอบไม่ถูก จริง ๆ แล้วคำถามนี้ก็เป็นสิ่งที่ตอบไม่ง่ายนักและก็มีคนช่วยคิดกันมาก่อนหน้านี้มากมาย โดยพอสรุปแนวความคิดได้ดังนี้
คนที่ปกติก็คือคนที่มีอะไร ๆ อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย มีความรูสึกนึกคิดและทำอะไรๆได้เหมือนคนทั่วๆไปในสังคมนั้น แนวคิดนี้ก็ง่ายดี แต่ในบางสังคมที่มีสุขภาพจิตไม่ดีหรือมีคนที่มีพฤติกรรมที่มีปัญหาอยู่มาก ๆ เช่น สังคมที่ชอบใช้ความรุนแรง สังคมที่ใช้การฆ่าตัวตายเป็นทางแก้ปัญหา หรือสังคมที่มีการดื่มเหล้ามาก ๆ เราจะถือว่านั่นเป็นสิ่งปกติเพราะคนส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้น
คนที่มีสุขภาพจิตดีคือคนที่ไม่ป่วย ไม่มีโรคทางจิตเวช แนวคิดแบบนี้ถือว่าคน ๆ นั้นไม่มีอาการหรือพฤติกรรมที่แสดงออกถึงโรคทางจิตเวช ก็ให้นับว่าเป็นคนปกติที่มีสุขภาพจิตดี แต่ความเป็นจริงสุขภาพจิตดีควรเป็นอะไรที่มากกว่าการไม่ป่วย คนสุขภาพจิตดีนั้นนอกจากจะไม่ป่วยแล้วต้องสามารถมีความรู้สึกเป็นสุข สามารถทำอะไร ๆได้ตามศักยภาพของตนทั้งทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ความรู้สึก คนที่หัวดี เรียนเก่ง ไม่ป่วย แต่อยู่กับใครหรือทำงานกับใครก็มีปัญหาไปหมดไม่ถือว่าเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี
สุขภาพจิตที่ดีและที่ไม่ดีเป็นสิ่งเดียวกันแตกต่างกันที่ปริมาณหรือความรุนแรงเท่านั้น ในคนปกติบางครั้งก็มีอาการของโรคทางจิตเวชได้ เช่น บางครั้งเราล๊อคประตูก่อนออกจากบ้านตามปกติแล้วแต่ในใจก็ยังเกิดความไม่แน่ใจจนอดไม่ได้ที่จะกลับมาตรวจดูใหม่ว่าล๊อคประตูแล้วแน่นะ ซึ่งเป็นอาการย้ำคิดย้ำทำ แต่ถ้าอาการนั้นเป็นไม่รุนแรงและเกิดไม่บ่อยจนเกิดปัญหาเราก็ยังถือว่าเป็น พฤติกรรมปกติอยู่
คนปกติที่มีสุขภาพจิตดีคือคนที่ปรับตัวได้ คนที่ปรับตัวได้ดีไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่สร้างสรรค์ มีประโยชน์ต่อสังคม หรือเป็นคนดี คนที่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ สามารถอยู่ได้ สามารถหาความสุขใส่ตัวและหลีกเยงปัญหาต่าง ๆ ได้ ถือว่าเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดีตามแนวคิดนี้ สังคมต้องการมากกว่าการมีคนที่ปรับตัวได้มาอยู่รวมๆกัน
คนที่มีสุขภาพจิตดีต้องมีความสามารถที่จะจัดการกับสิ่งแวดล้อมได้ แนวคิดนี้คิดว่าคนที่มีสุขภาพจิตดีควรจะมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม และสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ไม่ใช่เพียงแค่สามารถปรับตัวอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ได้ เช่น ถ้าเพื่อนในโรงเรียนชอบแกล้ง คนที่มีสุขภาพจิตดีตามแนวคิดที่ 4 ก็จะทนเอา คอยระวังอย่าให้เขาแกล้งได้ แต่คนที่มีสุขภาพจิตตามแนวคิด (ที่ 5) นี้ควรจะสามารถหาวิธีจัดการให้เขาเลิกแกล้งหรือไม่มาแกล้งได้
คนที่มีสุขภาพจิตดีคือคนที่มีจิตใจที่เข้มแข็ง (good ego strength) คนที่มีจิตใจที่เข็มแข็งจะสามารถทนความเครียดได้มากและจะสามารถจัดการกับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าคนที่มีจิตใจไม่เข้มแข็ง คนที่มีจิตใจไม่เข็มแข็งนั้นถึงแม้ว่าจะไม่ป่วย ถึงแม้ว่าจะยังปรับตัวได้อยู่ดี แต่ถ้ามีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางสุขภาพจิตมากกว่าคนที่มีจิตใจเข็มแข็ง
สรุป คนที่มีสุขภาพจิตดีคือคนที่ไม่มีโรคทางจิตเวช มักมีความรู้สึกเป็นสุข สามารถทำอะไร ๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพของตนเอง มีความสามารถที่จะจัดการกับสิ่งแวดล้อมและมีจิตใจที่เข็มแข็ง
ชีวิตของคนที่มีสุขภาพจิตดีไม่จำเป็นต้องประสบแต่ความสุขสมหวังไปเสียหมด เพราะชีวิตของเราคงจะยากที่จะราบรื่นไปเสียทุกอย่าง ในขณะที่ชีวิตมีปัญหาคนที่มีสุขภาพจิตดีก็เกิดความเครียดได้และอาจมีอาการบางอย่างของโรคทางจิตเวชได้ เช่น อาการย้ำคิดย้ำทำ อาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ในขณะที่ชีวิตมีปัญหาคนที่มีสุขภาพจิตดีจะหาทางจัดการกับปัญหาได้โดยใช้ทั้ง เหตุผลและความรู้สึก บางครั้งก็การแก้ปัญหาได้ บางครั้งก็การแก้ปัญหาไม่ได้ แต่ไม่ว่าผลที่ได้จะเป็นอย่างไรโดยรวมแล้วคนที่มีสุขภาพจิตดีจะมีความรู้สึกที่ดีและรู้สึกว่าเป็นสุขมากกว่าเป็นทุกข์
พญ.สิริกุล ใจเกษมวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
➤ โรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ Dementia Alzheimer
➤ เครียด Stress
➤ วิตกกังวล Anxiety disorder
➤ โรคปวดศีรษะ Headache
➤ นอนไม่หลับ Insomnia
➤ โรคซึมเศร้า Major depressive disorder
➤ โรคแพนิค Panic
➤ โรคติดสุรา
➤ โรคจิตเภท Schizophrenia
➤ โรคอารมณ์แปรปรวน ฺBipolar
➤ จิตบำบัด Psychotherapy
คำตอบเหล่านี้จะทำให้คุณมั่นใจ และปฏิบัติตัวได้อย่างปลอดภัย
”ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนไปพบจิตแพทย์”
1. เตรียมใจ หลายๆคนเกรงว่าการไปพบจิตแพทย์จะทำให้ภาพลักษณ์ตนเองดูไม่ดี กลัวที่ทำงานรู้ กลัวพบคนรู้จัก แต่ปัจจุบันภาพลักษณ์ของการมาพบจิตแพทย์ค่อยๆเปลี่ยนไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามประเทศตะวันตกซึ่งการไปพบจิตแพทย์เป็นเรื่องปกติ และทุกสถานพยาบาลจะต้องมีนโยบายรักษาความลับของผู้ไปขอรับการปรึกษาเสมอ จะไม่เปิดเผยข้อมูลของท่านหากท่านไม่ยินยอม
2. เตรียมตัว แต่งตัวสุภาพตามปกติ บางท่านอาจนำผ้าพันคอหรือเสื้อหนาวติดไปหากแอร์เย็น หรือนำพัดเล็กๆไปเผื่ออากาศร้อน
3. เตรียมของ
– เอกสารสำคัญ เช่นข้อมูลประวัติการรักษาที่เดิมถ้ามี บัตรประชาชน บัตรแสดงสิทธิ์การรักษากรณีท่านต้องการใช้สิทธิ์เบิกจ่ายของประกันสังคมหรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือใบส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัด มิเช่นนั้นท่านจะต้องชำระค่ารักษาเอง เพราะโรงพยาบาลรัฐที่มีจิตแพทย์มักเป็นโรงพยาบาลในระดับทุติยภูมิหรือตติยภูมิ ซึ่งตามหลักจะให้บริการเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาจากสถานพยาบาลในระดับปฐมภูมิ หากท่านไปรับบริการด้วยเองโดยไม่ผ่านต้นสังกัดมักต้องชำระค่าบริการด้วยตนเอง ยกเว้นกรณีฉุกเฉินหรือท่านที่ใช้สิทธิ์ข้าราชการอาจไปเบิกในภายหลังได้
– เตรียมยา ที่ท่านรับประทานประจำทั้งยาทางกายหรือยาทางจิตเวชเดิม เพราะกายและใจมีความเกี่ยวข้องกัน แพทย์จะได้มีข้อมูลในการวางแผนช่วยเหลือท่านได้อย่างรอบด้านและต่อเนื่อง
– น้ำดื่ม ขนมนมเนย หนังสือ โทรศัพท์ เพื่อสันทนาการและแก้หิวกระหายระหว่างรอ เพราะอาจมีผู้รอรับบริการเช่นเดียวกับท่านเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับจำนวนจิตแพทย์ที่ให้การดูแล
4. เตรียมญาติ หรือเพื่อน คนรู้จัก คนใกล้ชิดที่ท่านไว้ใจ ไปเป็นเพื่อนท่านหากท่านต้องการ และจะมีประโยชน์กับจิตแพทย์ผู้รักษาท่านมากหากสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวท่าน ที่ท่านอาจไม่เคยสังเกตมาก่อน เพื่อให้แพทย์มีข้อมูลใช้ดูแลท่านอย่างครบถ้วน และจะได้ช่วยรับฟังคำแนะนำจากแพทย์ว่าท่านควรปฏิบัติตัวอย่างไร และคนใกล้ชิดจะมีส่วนช่วยดูแลท่านอย่างไร
เครดิต http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=941
กรณีผู้ที่เราอยากพาไปพบจิตแพทย์แต่เขาไม่ต้องการให้เราพาไปพบ
อาจเป็นได้จากหลายปัจจัยทั้งที่รู้ว่าตนผิดปกติแต่ไม่กล้าไปด้วยเหตุผลต่างๆ หรือมีความเข้าใจที่ผิดๆกับการไปพบจิตแพทย์ หรืออาจเป็นเพราะเขาไม่รู้ตัวว่าตนเองผิดปกติจึงไม่เห็นความจำเป็นว่าทำไมต้องไป มีคำแนะนำที่พอใช้ได้ดังนี้
1. คุยกันด้วยเหตุด้วยผล โดยคนที่เขาไว้ใจ ไม่ตำหนิ แต่พยายามเข้าใจเขาแล้วค่อยโน้มน้าว ชักจูง ให้เขายอมไปด้วยความเต็มใจ เช่นบางรายอาจมีปัญหาการนอน หรือหงุดหงิดเครียดง่าย ซึ่งเขาเองต้องการหายจากอาการดังกล่าวอยู่แล้ว ก็ใช้เหตุผลว่าเพื่อให้หายจากอาการดังกล่าว ซึ่งน่าจะยอมรับได้ง่ายกว่าการบอกว่าเขาป่วย หรือผิดปกติ แต่บางรายอาจต้องใช้วิธีติดสินบนหรือจ้างให้เขาไปพบแพทย์ก่อนในครั้งแรก
2. หลอกว่าไปเที่ยวแล้วเลี้ยวเข้าโรงพยาบาล ก็ใช้ได้ผล แต่มักได้แค่ครั้งเดียว
3. ชักชวนว่าเป็นการไปตรวจสุขภาพ แต่สุดท้ายเขาก็จะต้องรู้ว่าแพทย์ที่เขาคุยด้วยเป็นจิตแพทย์ แล้วค่อยให้จิตแพทย์เกลี้ยกล่อม
4. บังคับควบคุมตัวมาโดยญาติหลายๆคน หรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประจำรถของหน่วยบรรเทาสาธารณภัย(บางจังหวัด) กรณีเขาทำพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น
5. มาปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อขอยานอนหลับ แล้วไปผสมน้ำหรืออาหารให้เขารับประทานแล้วค่อยแอบอุ้มขึ้นรถมา
ซึ่งวิธีที่ 4 และ 5 ควรใช้เฉพาะเมื่อไม่สามารถใช้วิธี 1-3 ได้แล้ว มิเช่นนั้นท่านอาจเสียสัมพันธภาพกันได้ แต่หากกระทำด้วยเจตนาดีและพิจารณาถึงความจำเป็น ว่าหากไม่ได้พบจิตแพทย์แล้วจะเกิดผลเสียมากกว่าก็ควรกระทำ
หลาย ๆ ท่านสงสัยว่าไม่สบายทางจิตเวชจะตั้งครรภ์ได้ไหมและจะส่งผลถึงโรคหรือเปล่า
ลำดับแรกก็จะต้องให้ข้อมูลก่อนว่า การตั้งครรภ์ถือเป็นความเครียดอันดับต้นๆของผู้หญิงเลยก็ว่าได้ เพราะจะต้องปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เมื่อเป็นความเครียด ก็ย่อมมีความสัมพันธ์กับการกำเริบของโรคทางจิตเวชได้
ช่วงที่เสี่ยงที่สุด ไม่ใช่ช่วงที่กำลังอุ้มท้องแต่เป็นช่วงหลังคลอด ประมาณ 6 เดือนแรก โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยหญิงที่ได้รับการหยุดยาไปในช่วงอุ้มท้อง หากมีความเสี่ยงที่โรคทางจิตเวชจะกำเริบ เมื่อคลอดลูกแล้ว แพทย์มักคะยั้นคะยอให้แม่รีบกลับมากินยาจิตเวชต่อให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้อาการทางจิตกลับมากำเริบซ้ำ ส่วนการให้นมบุตรก็ควรจะเป็นนมชงแทน เพราะยาจิตเวชส่วนใหญ่สามารถออกมาพร้อมน้ำนมได้
สรุป : หลักการใช้ยาจิตเวชในสตรีตั้งครรภ์
1. (หากเป็นไปได้) หลีกเลี่ยงการใช้ยาทุกชนิดในช่วง 3เดือนแรกของการตั้งครรภ์
2. (ถ้าจำเป็นต้องใช้ยา) ควรใช้ยาขนาดต่ำที่สุดที่ยังคงประสิทธิภาพรักษา/ป้องกันอาการทางจิตของมารดา
3. ช่วงเวลาที่สำคัญ
3.1 ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คือ ระยะสร้างอวัยวะของลูกในครรภ์ ควรงดยาที่มีความเสี่ยง (กลุ่ม C และ D)
3.2 ช่วงหลังคลอด เป็นระยะที่อาการทางจิตจะกำเริบได้มากที่สุด
อาการซึมเศร้าที่จริงแล้วเป็นอาการของโรคจิตเวชนะคะ
โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่มีผู้เป็นจำนวนไม่น้อย แต่ยังมีผู้รู้จักโรคนี้ไม่มากนัก บางคนเป็นโดยที่ตัวเองไม่ทราบ คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมากไปเองก็มี ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และทันท่วงทีค่ะ
การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านนะคะ มี 7 ข้อค่ะ
การดูแลผู้ป่วยจิตเวชนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องใช้ความเข้าใจเป็นอย่างยิ่งลักการปฏิบัตินี้จะช่วยให้ญาติดูแลคนไข้ได้ดีขึ้น และช่วยลดโอกาสการเกิดอาการกำเริบของโรคได้ การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน
1.ผู้ป่วยควรรับประทานยาสม่ำเสมอ
2.ญาติควรพาผู้ป่วยมารักษาตามนัด
3.คอยตรวจสอบอาการข้างเคียงของยาล้วแจ้งแพทย์ เพราะนั้นอาจเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยไม่รับประทานยา
4.สร้างบรรยากาศที่สงบ อบอุ่น มีกิจกรรมที่ดีทำร่วมกัน มีการสื่อสารที่ดี
5.หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ตอบโต้กันภายในบ้าน
6.เมื่อผู้ป่วยมีอาการทางจิตผิดปกติ ไม่ควรพยายามอธิบายเพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับความจริง ควรรับฟังด้วยท่าทีเป็นกลาง ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย แต่ขอให้ผู้ป่วยพูดถึงสิ่งที่เขาคิด สิ่งที่เขารู้สึกให้มากที่สุด พร้อมกับแสดงความเข้าใจและเห็นใจที่เขาคิดและรู้สึกเช่นนั้น อาการทางจิตจะดีขึ้นจากการใช้ยา ดังนั้นต้องรีบพาผู้ป่วยมาพบแพทย์โดยเร็วจดจำอาการต่างๆที่เกิดขึ้นที่บ้านมาเล่าให้แพทย์ฟัง
7.ควรให้ผู้ป่วยมีบทบาทในการดำเนินชีวิตตามปกติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งความรับผิดชอบส่วนตัว และงานรับผิดชอบส่วนรวม
การปฏิบัติกับผู้สูงอายุเมื่อท่านมีอาการซึมเศร้านะคะ
– พบปะพูดคุย และเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น
– หางาน หรือกิจกรรมเพื่อความเพลิดเพลิน และเกิดประโยชน์
– หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว เมื่อเกิดอารมณ์เศร้า
– พบจิตแพทย์ เพื่อขอความช่วยเหลือหากมีอาการรุนแรงหรือมีความคิดอยากตาย
โรคจิตเภทคืออะไร รักษาได้อย่างไร
โรคจิตมีด้วยกันหลายชนิดแต่ละชนิดก็มีลักษณะอาการแตกต่างกันออกไปบ้าง อย่างไรก็ตามจะต้องมีบางอาการดังต่อไปนี้จึงจะถือว่าเป็นโรคจิต
1. อาการหลงผิด
2. อาการประสาทหลอน
3. พฤติกรรมผิดไปจากเดิมอย่างมาก
เอ่ยถึงโรคจิตเภท คนคงรู้จักไม่มาก แต่ถ้าเรียกแค่โรคจิต ค่อยร้องอ๋อหน่อย แต่ก็มักเข้าใจว่าเป็นคำที่เขาใช้ว่ากระทบกัน
ในทางการแพทย์ เราหมายถึง คนที่ป่วยด้วยโรคที่มีลักษณะของความคิดผิดปกติ อาจคิดแปลกๆ ไม่สมเหตุผล พูดจับต้นชนปลายไม่ถูก ฟังไม่รู้เรื่อง คิดระแวงหวาดกลัว หรือมีหูแว่ว ประสาทหลอน สามารถรักษาได้โดยพบจิตแพทย์ค่ะ
จะป้องกันโรคจิตอย่างไร?
1.งดเว้นสุรา สารเสพติด และของมึนเมาอื่นๆ
2.ป้องกันอุบัติเหตุทางสมอง หรือศีรษะ
3.ให้การเลี้ยงดูบุตรหลาน ด้วยรักและเข้าใจ
4.การพูดจาชื่นชมด้วยความจริงใจ ใช้ภาษาดอกไม้ต่อคนในครอบครัวเพื่อน และผู้ร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ฯลฯ
5.คลายความเครียด เช่น พักผ่อน หย่อนใจ
6.ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ปลูกต้นไม้
7.การฝึกปฎิบัติธรรม ใช้ธรรมะในการดำเนินชีวิต